Saturday, April 11, 2009

มอเตอร์ บน PCB


PCB Motor มอเตอร์แบนๆ ติดบน PCB !!!


PCB_motor_04


     ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง เราไม่ได้หยุดเพียงแค่ให้มอเตอร์มีขนาดเป็นแค่ทรงกระบอกเท่านั้น วันนี้เรานำเอามอเตอร์ขนาดเล็กที่มีความแม่นยำสูงมาตดตั้งลงบน PCB แล้วตอนนี้ ทั้งบนหน้าปัดแผงควบคุม , audio mixer , หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการส่วนของการเคลื่อนไหว เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมกันของ มอเตอร์ และ แผงวงจร PCB ซึ่งบนแผงวงจร PCB นี้จะมีส่วนของวงจรควบคุมมอเตอร์ร่วมอยู่ด้วย. โดยเทคโนโลยีนี้ เป็นการคิดค้นจากบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเดนมาร์ก ซึ่งทำให้เกิดการปฏิวัติทางการออกแบบ และการผสมผสานกันระหว่างทางด้าน Mechanical และ ทางด้าน Electronics ซึ่งจะทำให้เกิด การใช้พื้นที่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราไม่ต้องทำการเชื่อมวงจร เพราะตัวมอเตอร์เองติอยู่บน PCB เลย จึงทำการควบคุมมอเตอร์ทำไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นระหว่างส่วนของวงจรควบคุม และส่วนของมอเตอร์


PCB_motor_02


มันดีกว่ามอเตอร์ทั่วไปตรงไหน? .... มาดูข้อดีของมอเตอร์แบบนี้เป็นข้อๆกันเลยครับ

  • ติดตั้งง่ายบนแผงวงจร PCB โดยสามารถติดตั้งได้หลายๆตัวบนแผงวงจรเดียวกัน
  • ปรับแต่งให้ลงบนอุปกรณ์อย่างพอดี
  • สามารถขับมอเตอร์ได้โดยตรง
  • ออกตัวได้รวดเร็วและหยุดได้รวดเร็วเช่นกัน
  • ไม่มีส่วนของสนามแม่เหล็ก (อันนนี้เดี๋ยวมาว่ากันอีกที)
  • แรงบิดค่อนข้างสูง และมีแรงบิดในการยึดมอเตอร์ให้อยู่กับที่ค่อนข้างสูง

หัวใจหลักของมอเตอร์ตัวนี้ก็คือ เปียโซอิเล็กตริก (Piezo Electric) ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก google ครับ

ตัวอย่างหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดในเรื่องของการนำไปใช้งาน ตัวปรับจูนหาคลื่นความถี่ของวิทยุ และแผงหน้าปัดที่วัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ เพื่อนๆคงนึกภาพออกนะครับ เดี๋ยวผมจะเอา clip VDO แปะมาให้ดูด้วย จะได้นึกภาพออก

      ในส่วนประกอบของมอเตอร์นี้นั้น มีส่วนประกอบที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ราคาต้นทุนในการประกอบนั้นต่ำ แต่แรงบิดที่ได้นั้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับขนาดของมอเตอร์

     ในส่วนของการควบคุมตำแหน่งนั้น เค้าใช้หลักการสะท้อนกลับของแสง โดยทำงานร่วมกับ opto sensor โดยจะทำหน้าที่ส่งแสงออกไปกระทบกับตัวสะท้อนแสง ซึ่งติดอยู่ที่ตัวโรเตอร์ ติดสลับกันไป เมือ่มอเตอร์หมุน ก็จะทำให้เกิดการสะท้อนกลับเป็นจังหวะ กลับมาที่ตัวรับแสง ตัวรับแสงก็ทำหน้าที่ส่งสัญญาณกลับไปที่วงจรควบคุมอีกทีหนึ่ง


PCB_motor_03


ก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของผู้ที่ผลิตมอเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ก็ทำให้เกิดการนำไปประยุกต์กับงานได้กว้างขวางขึ้น ไม่ได้ติดอยู่เพียงแค่การทำงานในแบบเดิมๆอีกต่อไป วันนี้ก็ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน แล้วค่อยเจอกันใหม่ครับ สวัสดีครับpixy

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

 

แจกฟรี พื้นที่ฝากไฟล์ 15 GB

ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter

Blog อื่นๆของฉัน

ผู้ติดตาม Blog นี้

เว็บเพื่อนบ้าน