รถยนต์อัจฉริยะ คือ รถยนต์ที่สามารถขับไปได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยคนขับ สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวมันเอง
Jack-O-Lantern : jack-o'-lantern. [ N ]. ผลฟักทองที่เจาะตา จมูก และปาก แล้วใส่เทียนไว้ข้างใน (ในคืนวันเทศกาลฮาโลวีน)
Jack-O-Lantern เป็นรถยนต์อัจฉริยะ ไร้คนขับ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ที่คว้าแชมป์การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย จัดโดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ภาควิชาเมคคาทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ทั้งนี้ แนวคิดในการสร้างรถอัจฉริยะ "ชนินท์" ในฐานะตัวแทนของทีม บอกถึงการเลือกให้รถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเบา เพื่อง่ายต่อการควบคุม ช่วยให้การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ พวงมาลัยเพาเวอร์ เซ็นเซอร์ กล้องเวบแคม เข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ และเลเซอร์ โดยอุปกรณ์ทั้งหมดจะทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่เขียนโปรแกรมขึ้นมาโดยเฉพาะ และเชื่อมต่อเข้ากับระบบจีพีเอส เพื่อให้รถสามารถค้นหาสิ่งกีดขวาง และวิ่งตามเส้นทางที่กำหนดได้
วันนี้ เราจะมาแยกชิ้นส่วนการทำงานที่สำคัญของเจ้ารถยนต์อัจฉริยะนี้กันดู เท่าที่ข้อมูลจะเอื้ออำนวยนะครับ
จริงๆแล้ว แนวคิดการทำรถยนต์อัจฉริยะนี้ เป็นการนำเอารถยนต์ที่มีอยู่แล้ว มาดัดแปลงให้ตัวมันเองสามารถขับไปได้ตามสภาพแวดล้อมบนท้องถนนได้ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ โดยมีต้นกำเนิดมาจากการแข่งขัน Grand Challenge ของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐอเมริกา ที่จัดการแข่งขันขึ้นเพื่อให้บุคคลใดก็ได้ที่สนใจ สามารถพัฒนารถยนต์ที่วิ่งเองผ่านทะเลทรายไปให้ได้ ในการแข่งขันครั้งแรก DARPA Grand Challenge 2004 นั้น ในขณะนั้นไม่มีรถจากทีมใดเลยที่เคลื่อนที่ได้ไกลกว่า 7 ไมล์
แต่เจ้า Jack-O-Lantern นี้จะประกอบขึ้นมาโดยอาศัยเค้าโครงที่เหมือนรถ ฉะนั้นชิ้นส่วนหลัก บางชิ้นส่วนก็ยังคงรูปแบบไว้เหมือนเดิม มีเพียงบางชิ้นส่วน บางกลไกเท่านั้น ที่จะต้องทำการปรับแต่โมดิฟายด์ เพื่อให้มันสามารถทำงานได้สอดคล้องกัน และให้มันทำงานตัดสินใจได้เอง ได้แก่ วาล์วลิ้นปิด-เปิดเชื้อเพลิง ระบบพวงมาลัย ระบบเบรค ที่ต้องเพิ่มเข้ามา ก็เป็เรื่องของการมองเห็น (vision)แล้วก็หน่วยประมวลผลข้อมูลจากการมอง นำไปสู่การตัดสินใจ มาเริ่มดูทีละส่วนกันเลยครับ
เริ่มจากการออกแบบตัวถังรถ จะว่าไปแล้วมันเป็นโครงของรถมากกว่า โดยใช่เหล็กท่อแป๊บขึ้นเป็นรูปร่างโครง โดยให้มีที่นั่งแค่ 1 คนเท่านั้น(ตามกติกา) ใช้แบตเตอรี่ในการให้พลังงานกับมอเตอร์ induction motor 3 phase ซึ่งเป็นมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนล้อหลัง โดยควบคุมแรงดันและความถี่ เพื่อปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ จากการสั่งงานจากหน่วยประมวลผลไมโครคอนโทรลลเอร์
ในส่วนของพวงมาลัย นั้นเป็นพวงมาลัยไว้สำหรับบังคับล้อหน้า โดยใช้ตัวควบคุมภายนอกแบบ PID control มาใช้ในการควบคุม
ในส่วนของระบบเบรค นั่นทางทีงงานได้เพิ่มเติมและปรับแต่งส่วนของการเบรค โดยใช้ ball screw นำพาให้ลูกเบี้ยวเป็นตัวผลักดันให้ไปเหยียบเบรคอีกทีหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลักการเหยียบเบรคแบบมนุษย์
ระบบนำทางใช้ GPS recieve module
ซึ่ง GPS ย่อมาจาก "Global Positioning System" คือระบบบอกพิกัดผ่านทางดาวเทียม ซึ่งโคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 22,000 กิโลเมตร จากกลุ่มดาวเทียม 24 ดวงที่โคจรอยู่รอบโลก ตัวนี้ เป็นหัวใจของการบอกตำแหน่งพิกัดของรถเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าไม่มี GPS ก็ไม่สามารถที่จะทำให้รถวิ่งอยู่บนเส้นทางได้ ถึงทำได้ได้ก็คงจะต้องมีอัลกอลิธึมในการเช็ค อย่างยอดเยี่ยมแน่ๆ แต่ถ้าเรามี GPS reciver ติดตั้งอยู่ จะทำให้สามารถแสดงตำแหน่งนั้นอย่างแม่นยำ เราได้อะไรจาก GPS ด้วยความสามารถของ GPS ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย
วันนี้ขอจบตอนที่ 1 ก่อนแล้วกัน เดี๋ยวค่อยวมาว่ากันต่อ ใน ตอนที่ 2 ครับ
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment