Sunday, May 1, 2011

ไปอบรม VHDL มาได้ไรมาเยอะเลย

พอดี วันลาพักร้อนเยอะเกิ๊น ก็เลยต้อง plan ลาพักร้อนสักสองวัน เพื่อเป็นไปตามนโยบายเบื้องบน ไม่ได้คิดจะไปเที่ยวไหนหรอก อยากอยู่บ้านเล่นไมโครคอนโทรลเลอร์มากกว่า พอดีไปเห็นเค้าประกาศไว้ในเว็บ ว่า มีคอร์สอบรม VHDL สำหรับผู้สอน 28-29 มีค., 28-29 เมย.และ 23-24 พค พอดีเลย สองวัน ว่าแต่ มันเป็นคอร์สสำหรับผู้สอนนี่หว่า เราจะไปได้ไหม อย่ารอช้าเมล์ไปถามเค้าดีกว่า

หลายวันต่อมาได้รับเมล์ว่า สามารถไปได้พอดี มีที่ว่างพอดี โดยปกติแล้วเค้าจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าอบรม รอบนี้ มีเฉพาะคนที่เป็นครู อาจารย์เท่านั้น แต่เราก็โชคดี ที่ได้เข้าอบรมด้วย ว่าแต่ไอ้ VHDL มันคือภาษาไรเหรอ แล้วทำไรได้บ้าง อย่ารอช้า หนังสือที่ซื้อมาดองไว้นานแล้ว เอามาเปิดดูสักหน่อยสิ พอดีกับมีบอร์ด XC9572 อยู่แล้ว หลังจากจดๆ จ้องๆ อยู่นาน ไม่รู้จะเริ่มต้นยังงัย U_U

BookVHDL2009

CX1A Design Kit

จริงๆ ในหนังสือ “ออกแบบไอซีดิจิตอลด้วย FPGA และ CPLD ภาคปฏิบัติ โดยใช้ภาษา VHDL ” ผู้แต่งทั้งสองท่าน คือ ท่าน ณรงค์ ทองฉิม และ ท่านเจริญ วงษ์ชุ่มเย็น ท่านแต่งไว้ดีมากๆ อธิบายได้ค่อนข้างละเอียดแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ฟัง หรือเข้าอบรมก่อน ก็อาจจะเป็นการลำบากในการเริ่มศึกษาด้วยตนเองเป็นอย่างมาก

บรรยากาศการอบรมครั้งนี้ ไม่เหมือนที่อื่น ไม่มีพิธีรีตองใดๆ จัดโต๊ะเสร็จ ก็นั่งอบรมกันเลย ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน แต่ระหว่างที่ท่านอาจารย์ ณรงค์ ท่านบรรยายทุกคนต้องหันหน้าไปที่กำแพง เพื่อดูสไลด์ ที่ท่านอาจารย์กำลังแสดงให้ดู (ท่านอาจารย์เป็นคนค่อนข้างจริงจังมาก) ในระหว่างนั้น ต้องตั้งใจฟัง ห้ามทำการใดๆ โดยที่ท่านอาจารย์ยังไม่ได้สั่งให้ทำ ทุกคนต้องทำตามอย่างเคร่งครัด เพราะท่านอาจารย์ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความรู้ และท่านก็หวังให้เราทุกคนตั้งใจรับฟังกันด้วย

มีกาแฟเสิร์ฟตลอด ไม่ต้องห่วงว่าจะง่วงนอน (ความจริง ผมก็ทานมาแล้วหล่ะ) สรุปว่าวันนั้น ล่อไปสามแก้ว ไม่ต้องนอนกันหล่ะ ช่วงเช้าก็ปูพื้นฐานภาษา VHDL แล้วก็ทำความรู้จักกับ FPGA/CPLD กันก่อน พอหลังจากทานมื้อกลางวัน (ไก่ย่าง ที่ท่านอาจารย์บอกว่า อร่อยกว่า ไก่ห้าดาว) เราก็เริ่มทำการลง Lab โดยท่านอาจารย์พาทำตาม Lab ในหนังสือ แล้วใช้โปรแกรม Xilinx ISE 8.1i ในการเขียนภาษา VHDL โดยท่านอาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้เห็นในหลายๆ รูปแบบ แต่ให้ผลลัพธ์เหมือนๆกัน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เวลาที่เราไปอ่านโค๊ดของคนอื่น เราจะได้เข้าใจ ว่ามันมีสไตล์การเขียนหลายแบบ แล้วแต่ใครถนัด

น่าเสียดายที่ความจริงเราน่าจะได้เทรนกันสองวัน แต่เนื่องด้วยในวันพรุ่งนี้ ท่านอาจารย์ต้องเดินทางไปสงขลาเพื่อกลับบ้านไปร่วมงานศพน้า เราก็เลยอัดเนื้อหาที่จำเป็นทั้งหมดภายในวันนั้นวันเดียว กว่าจะเลิกก็ปาไปสามสี่ทุ่ม ผมกลับถึงที่พักประมาณ 5 ทุ่ม เหนื่อยเหมือนกัน แต่คิดว่า เมื่อเทียบกับความรู้ที่ได้รับมา มันคุ้มค่าเกินกว่าความเหน็ดเหนื่อยมากมาย ซึ่งเมื่อเทียบกับความตั้งใจของท่านอาจารย์ ณรงค์ เทียบไม่ได้เลย สังเกตเห็นว่า ท่านอาจารย์ก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่ท่านก็ยังพยายามที่จะถ่ายทอดความรู้ให้อย่างเต็มที่

ผมคงไม่ขออธิบายอะไรมาก เกี่ยวกับภาษา VHDL เพราะในหนังสือได้กล่าวไว้อย่างดีแล้ว ขอให้เพื่อนๆที่สนใจลองหาซื้อมาอ่านกัน ได้ข่าวว่าจะมีเล่มสองด้วย ท่านอาจารย์กำลังเรียบเรียงอยู่ รอติดตามกันได้เลยครับ สุดท้าย ผมอยากจะกล่าวว่า ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ณรงค์ ทองฉิม อย่างสูง ที่ท่านมีความเมตตา อนุเคราะห์ให้ผมและเพื่อนได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ถึงแม้ผมทั้งสองคนจะไม่ได้เป็นผู้สอน ก็ตาม จึงอยากจะกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง ณ ที่นี้ด้วย

ถ้าผมมีเวลาผมก็อยากจะนำความรู้ที่ได้รับมาไปถ่ายทอดต่อไป อาจจะเป็นในรูปแบบการนำ CPLD ไปใช้งานมากกว่า  (อาจจะเป็นที่เว็บ 123Microcontroller)

เช่นเคย เมื่อเราได้เรียนรู้มาแล้วว่า VHDL เขียนอย่างไร เราก็ต้องมาทดลองกับบอร์ด CPLD ที่เรามีอยู่ เพื่อพิสูจน์ว่าเราสามารถที่จะเขียนโปรแกรมสั่งงานมันได้จริง

อ่านเพิ่มเติม...
 

แจกฟรี พื้นที่ฝากไฟล์ 15 GB

ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter

Blog อื่นๆของฉัน

ผู้ติดตาม Blog นี้

เว็บเพื่อนบ้าน