Sunday, January 23, 2011

Labview 8.5 – มันกลับมาอีกแล้ว!!!

        เดิมทีผมเลิกความตั้งใจที่จะเขียนเรื่องของ Labview ไปแล้ว ด้วยเหตุที่ได้กล่าวไปแล้วขั้นต้น แต่เหมือนตอนนี้ ผมคงต้องกลับมาศึกษาเป็นจริงเป็นจังอีกแล้วครับ เพราะว่าในเทอมนี้ ผมได้ลงทะเบียนวิชา Labview ด้วย (เอาว่ะ) ยังงัยๆ ก็หนีไม่พ้นแล้ว ลองเล่นให้มันรู้ดำรู้แดงกันไปเลยสิ ว่าไอ้เจ้า Labview นี้ มันจะแน่ซักแค่ไหน

       พอดีเพื่อนที่ทำงาน เค้าบอกว่า ใครเซียน Labview ค่าจ้างแพงนะ ไอ้เราก็ตาลุกวาวขึ้นมาทันที เอาเป็นว่า เรามาเริ่มศึกษาด้วยกันนะครับ ว่า Labview เค้ามีการใช้งานกันอย่างไร และถ้ามีเวลา ผมก็อยากจะค้นคว้าหาโปรเจค Labview มาเจาะให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาไปพร้อมๆกันนะครับ ผมไม่ได้เก่งขนาดนั้นหรอกครับ เพียงแต่ผมคิดว่า ถ้าเราสนใจเรื่องใดๆ อยู่ เราก็ควรเอาตัวเองไปผูกไว้กับเรื่องนั้นซักระยะหนึ่ง ต่อไปๆ เราก็จะเข้าใจมัน และทำมันได้อย่างคล่องแคล่วแน่นอน เหมือนๆประโยคๆ หนึ่ง ที่ผมค่อนข้างชอบ แล้วคิดว่ามันจริงเสมอสำหรับผมก็คือ

The first step is always the hardest
  การเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งที่ยากที่สุดก็คือตอนเริ่มต้นทำ

โม้มากไปหน่อยอีกแหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

Labview คืออะไร

Labview National Instrument

Labview คือโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานด้านเครื่องมือวัด สำหรับงานวิศวกรรม (Laboratory Virtual Instrumentation Engineering Workbench) โดยโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โปรแกรม Labview จะถูกพัฒนาภายใต้สภาวะ Visual Programming จากบริษัท National Instrument ซึ่งจุดประสงค์หลักของโปรแกรม ที่เค้าสร้างขึ้นมาก็เพื่อที่จะให้การทำงานกับเครื่องมือวัดภายในห้องแลปให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเป็นไปอย่างอัตโนมัติ คือเราสามารถใช้โปรแกรม Labview สามารถทำการคำนวณค่าที่ได้จากเครื่องมือวัดใดๆ ที่ driver ของ Labview สามารถติดต่อได้ มาทำการประมวลผลต่อได้

ลักษณะการเขียนโปรแกรมของ Labview อาจจะต้องมีการปรับจูนสมองกันนิดหน่อยสำหรับโปรแกรมเมอร์รุ่นเก่า ที่คุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมประเภท Text base หรือพวกทีชอบ Coding ทีเป็นพันๆ บรรทัด เพราะเจ้าตัว Labview เองเกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ของการพัฒนาโปรแกรม ใช้การเขียนโปรแกรมแบบที่เรียกว่า Graphic-base Programming ซึ่งถ้าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Text-base เราจะต้องเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง แล้วเรียกฟังก์ชันไปมา แต่ถ้าเป็นการเขียนโปรแกรมบน Labview ลักษณะแนวคิดของโปรแกรมจะเป็นแบบ Data Flow โดยข้อมูลของโปรแกรมจะไหลตาม wire หรือเส้นทางข้อมูลที่เราทำการเชื่อมต่อกันแต่ละบล๊อก (วันแรก ก็เล่นเอามึนเหมือนกัน ) O_o

แล้วเริ่มต้น เขียนโปรแกรมบน Labview ยังงัยหล่ะ ???

เนื่องจากโปรแกรม Labview เป็นการเขียนโปรแกรมสไตล์ Graphic-base Programming เพราะฉะนั้นการเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่เป็นการจัดการด้านกราฟฟิค การโยงข้อมูล การทำหน้าต่าง GUI (Graphic User Interface )  ซะมากว่า โดยเค้าแบ่งการพัฒนาโปรแกรมออกเป็น 2 อย่างก็คือ

  1. Front Control ทำหน้าที่เป็นหน้ากากของโปรแกรมเพื่อติดต่อกับผู้ใช้
  2. Block Diagram เป็นส่วนของการจัดการไหลของข้อมูล (ยากสุดตรงนี้แหละ)

Front Control and Block Diagram of Labview 

ซึ่งรายละเอียดของการเขียนและการพัฒนาโปรแกรมของ Labview ผมจะพยายามรวบรวมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผมเอง จากในห้องเรียน และจากการค้นคว้าในอินเตอร์เนต และการทดลองทำมาเล่าสู่เพื่อนๆในโอกาสต่อไป

1 ความคิดเห็น:

Unknown on May 7, 2014 at 10:35 AM said...

รับเขียนโปรแกรม Labview ทุกประเภท
http://labview-develop.com/

Post a Comment

 

แจกฟรี พื้นที่ฝากไฟล์ 15 GB

ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter

Blog อื่นๆของฉัน

ผู้ติดตาม Blog นี้

เว็บเพื่อนบ้าน