Monday, August 10, 2009

LabVIEW ตอนที่1 (introduction)

LabVIEW

      สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มีโปรเจคใหม่มานำเสนอ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ LabVIEW เพื่อนๆหลายคนคงมีโอกาสได้ใช้เจ้าตัวโปรแกรม LabVIEW ตัวนี้ ซึ่ง ณ ตอนนี้ โปรแกรม LabVIEW ได้ออกมาเป็นเวอร์ชั่น 2009 แล้ว (พักหลังๆ โปรแกรมจะเปลี่ยนเวอร์ชั่น ตามปี ค.ศ. )

Laboratory Virtual Instrument Engineering Workbench แปลง่ายๆก็คือ เป็นโปรแกรมที่สามารถออกแบบเป็นเสมือนเครื่องมือวัดที่ใช้ภายในแลป นั่นเอง แต่ส่วนใหญ่จะวัดได้เฉพาะสัญญาณทางไฟฟ้า เพราะฉะนั้นหากจะทำการวัดสัญญาณรูปแบบอื่น ต้องทำการแปลงสัญญาณนั้นๆ ให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้าเสียก่อน (ซึ่งอาจจะใช้ DAQ ในการแปลงเสียก่อน) แล้วจึงส่งเข้ามาทางพอร์ตคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าสู่โปรแกรม LabVIEW ต่อไป 

 

     

       การใช้งานโปรแกรม LabVIEW นั้นเป็นการทำงานภายใต้สภาวะที่เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) ซึ่งเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ ลากวางๆ แล้วโยงเส้นสัญญาณเชื่อมเข้าหากันในแต่ละบล๊อก ให้ข้อมูลที่เราต้องการนั้นไหลไป ซึ่งถ้ามองในแง่ของการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์แบบ command line แล้ว เราอาจจะต้องพบว่า ชีวิตเราช่างแสนจะลำบากซะเหลือเกิน กว่าที่เราจะสกัดเอาข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ภายนอก นำเข้ามาในโปรแกรมของเรา แล้วไปผ่านการประมวณผล แต่ด้วย LabVIEW ซึ่งทำงานแบบ GUI Programming ทำให้การทำงานของเราง่ายขึ้น เพียงแต่เพื่อน ลากวางๆ แล้วทำการเขียนโปรแกรมอีกนิดหน่อย เพียงเท่านี้ เพื่อนๆก็สามารถที่จะสกัดเอาข้อมูลออกมาได้แล้ว

 

GUI LabVIEW

       ส่วนในเรื่องการเข้ากันได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายนอก ทางบริษัท NI ซึ่งผลิตโปรแกรม LabVIEW นี้ บอกว่าสามารถรองรับอุกรณ์ภายนอกได้เป็นพันๆชนิด และยังมี library รองรับอีกมากมาย   แต่ข้อเสีย มันก็มี คือ มันไม่สามารถทำงานเป็น Stand alone ได้ ผมหมายถึงว่า หากเพื่อนๆต้องการทำอุปกรณ์ขึ้นมาสักชิ้น โดยใช้เพียงแค่ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์แล้ว เพื่อนๆไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน เพราะมันไม่เหมาะกับงานขนาดเล็ก ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่า LabVIEW นั้นจะถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือไม่ก็ตามแลปทดลองที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทางสัญญาณ ซะส่วนใหญ่ แต่ถ้าจะมีใครเอาไปประยุกต์กับงานขนาดเล็ก ก็เหมือนจะเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตน จนเกินไป

LabVIEW with Hardware

เรามาดูกันว่าเจ้าโปรแกรม LabVIEW 2009 ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ ทำอะไรได้บ้าง ผมคงจะทิ้งแค่หัวข้อหลักๆไว้ก่อน สำหรับบทความในตอนนี้ ซึ่งในตอนต่อๆไป เราจะมาขยายความในแต่ละหัวข้อกัน

  • Acquiring Data and Processing Signals (การดึงสัญญาณเข้ามาและทำการประมวณผลสัญญาณ)
  • Instrument Control (การควบคุมเครื่องมือต่างๆ)
  • Automating and Validating Test Systems (ทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ และทำหน้าที่เป็นตัวทดสอบระบบต่างๆ)
  • Industrial Measurements and Control (ใช้ในการวัดในงานอุตสาหกรรม)
  • Designing Embedded Systems (ใช้ในการออกแบบระบบควบคุมแบบฝังตัว)
  • Teaching and Research (ใช้ในการสอนและการค้นคว้าวิจัยต่างๆได้มากมาย)

วันนี้ คงฝากไว้เพียงเท่านี้ครับ หวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับเพื่อนบ้าง อย่างน้อยก็มีประโยชน์สำหรับตัวผมด้วยครับ แล้วเจอกันในตอนต่อไปครับ

อ่านเพิ่มเติม...
 

แจกฟรี พื้นที่ฝากไฟล์ 15 GB

ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter

Blog อื่นๆของฉัน

ผู้ติดตาม Blog นี้

เว็บเพื่อนบ้าน